วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556


Topic (ความหมายของหัวข้อเรื่อง)

       หัวข้อเรื่อง (Topic) คือ สิ่งที่เป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดรวมของความคิดทั้งหมดภายในบทอ่าน
ที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงผู้อ่าน หัวข้อเรื่องอาจจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
       Topic   แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
                1. Topic Noun หรือเรียกสั้นๆ ว่า Topic
                2. Topic Idea
                3. Topic Sentence
ต่อไปจะอธิบายวิธีหา Topic แต่ละชนิด

         1. Topic Noun ลักษณะในการนำเสนอคือต้องเป็นคำนามเท่านั้น วิธีหา Topic Noun ง่าย ๆ ที่หลายคนนึกไม่ถึงและใช้เวลาหาในช่วงระยะเวลาอันสั้น แม้ว่าเนื้อเรื่องนั้นจะมีความยาวเพียงใดก็ตาม นั่นคือ ให้สังเกตว่าคำนามใดในเนื้อเรื่องที่มีการพูดถึงบ่อยครั้งที่สุด หรือคำนามที่มีความถี่สูงสุดในเนื้อเรื่อง ในการนับความถี่ของคำนามนั้น นอกจากเราจะนับคำที่ใช้ซ้ำ ๆ กันแล้ว เรายังต้องนับตัว reference (คำที่ใช้อ้างถึง) ที่หมายถึงคำนามนั้นรวมเข้าไปด้วย เช่น

Example 1     
     Not every kind of plants can grow everywhere. The growth of each plant requires different quality of soil, climate, amount of sunlight or rain. Those grow in Chiang Rai will not grow in Narathiwart and vice versa.

         จะเห็นได้ว่า Topic Noun ของเรื่องนี้ก็คือ plant ในเรื่องนี้มีการกล่าวถึง plant อยู่ทั้งหมด 3 คำ คือ ในประโยคที่ 1 และ 2 มีอย่างละคำ และในประโยคที่ 3 มีคำว่า Those ซึ่งหมายถึง plant นั่นเอง ในกรณีที่ในเนื้อเรื่องไม่มีคำถามใดที่กล่าวซ้ำกันบ่อยครั้งที่สุด เราจะมีวิธีในการหา Topic โดยให้ผู้อ่านประมวลเรื่องราวทั้งหมดและสรุปประเด็นออกมาว่าคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเนื้อหาเชิงพรรณนา หรือเรื่องเล่า (Explanatory) ลักษณะของ Topic ที่ดีนั้น จะต้องครอบคลุมเนื้อหา รายละเอียดเป็นส่วนใหญ่หรือเรื่องทั้งหมด เช่นในเนื้อเรื่องกล่าวถึงพัดลมและรายละเอียด ตู้เย็นและรายละเอียด เตารีดและรายละเอียด ดังนั้น Topic ของเรื่องนี้ก็คือ เครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง
                                                 
         2. Topic Idea มีลักษณะการนำเสนอเป็นนามวลี (Noun Phrase) Topic Idea ต่างกับ Topic Noun ตรงที่ Topic Idea นั้นจะทำให้ขอบเขตของ Topic Noun นั้นแคบลง พูดง่ายๆ ก็คือ ชี้เฉพาะลงไปว่า เป็นอะไร หรือด้านไหน สำหรับเรื่องนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นในหัวข้อที่ 1 เราทราบจาก Topic Noun ของเรื่องคือคำว่า Plant ดูคร่าว ๆ แค่หัวข้อจะยังไม่รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรเกี่ยวกับ plant ดังนั้น Topic Idea จะทำให้หัวข้อของ plantนั้นแคบลง เช่นอาจจะเป็นการให้ปุ๋ยกับ plant หรือการตอนกิ่ง plant เป็นต้น วิธีการหา Topic Idea อย่างง่ายๆ ก็คือ
                         1) หาคำนามในเนื้อเรื่องที่มีความถี่สูงสุด
                         2) หากริยาหรือคำคุณศัพท์ที่มีความถี่สูงสุด
                         3) เอา   1) กับ   2) มารวมกัน
                 แต่เราจะเอามารวมกันเฉย ๆ ไม่ได้ จากคุณสมบัติของ Topic Idea ว่าจะต้องเป็นนามวลี แต่ในหัวข้อที่ 2) นั้นเราได้มา คือ verb หรือ adjective เราจะต้องแปลง verb หรือ adjective นั้นเป็นคำนามเสียก่อนแล้ว จึงค่อยเอามารวมกัน
                จาก Example 1 คำนามที่กล่าวถึงในเนื้อเรื่องมากที่สุด คือ plant กริยาที่มีความถี่สูงที่สุด คือ grow เราจึงต้องแปลง verb ให้เป็น Noun ก่อน นั่นคือคำนามของ grow คือ growth เพราะฉะนั้น Topic Idea ของ Example 1 คือ plant growth หรือ The growth of plants เพื่อความเข้าใจโปรดดูตัวอย่างเพิ่มเติม

Example 2     
               The sea is very deep in some places. Sometimes it is less deep. Some parts of the sea are very shallow. But in some places it is very deep. There is one spot near Japan, where the sea is 9 kilometers deep! The highest mountain in the world is about 9 kilometers high. If that mountain were put into the sea at that place, there would be 2 kilometers of water above it!
              จะเห็นได้ว่า คำนามที่มีความถี่สูงสุดในเรื่องก็คือ sea และ adjective ที่กล่าวถึงบ่อยครั้งที่สุดก็คือ deep ดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยน deep ให้เป็นคำนามเสียก่อนนั่นก็คือคำว่า depth แล้วจึงค่อยนำมารวมกัน Topic Idea ที่ได้จาก Example 2 ก็คือ The depth of the sea หรือ The sea depth นั่นเอง
               นั่นคือ Topic Noun ของเรื่องนี้ คือ The sea และ Topic Idea คือ The depth of the sea. สมมุติว่าในกรณีที่ verb หรือ adjective ที่มีความถี่สูงสุดที่เราได้มาไม่สามารถทำให้เป็นคำนามได้ เราจะมีวิธีอย่างไร มาดูตัวอย่างนี้กันเถอะ
Example 3
            Education is one of the basic needs of life. We need education to earn our livings. We need it to live happily in the society under the same laws. Without education it is difficult to understand other people.
             จากเรื่องข้างบนนี้ คำนามที่มีความถี่สูงที่สุดก็คือคำว่า education และกริยาที่มีความถี่สูงสุด คือ need คำว่า need นั้นเป็นได้ทั้ง  noun และ verb แต่ถ้าเป็นคำนามอาจจะมีความหมายอื่นที่ไม่ตรงกับประเด็นของเรื่อง ดังนั้นถ้าใช้ the need of education ความหมายก็จะผิดเพี้ยนไปจากประเด็น เพราะ the need คือความต้องการ แต่ประเด็นที่เราพูดถึงในเรื่องคือความจำเป็น ซึ่งต้องใช้คำว่า necessity เราจึงได้ Topic Idea ของเรื่องนี้ว่า The necessity of education เช่นเดียวกันกับเรื่อง Topic Noun ในกรณีทีไม่มี verb หรือ adjective ที่มีความถี่สูงสุดก็ให้ผู้อ่านพิจารณาประเด็นว่าภาพโดยรวมของเนื้อเรื่องนั้น focus ไปด้านใด ดูตัวอย่างต่อไป
Example 4
              What do you know about the sea. The first thing to remember is that the sea is very big. You can see that there is less land than sea. The sea covers three-quarters of the world. Its depth is different at different places.
              ในเนื้อเรื่องนี้พูดถึงทะเลในหลาย ๆ ด้าน เช่น ขนาดและความลึกของทะเล คงจะจำกันได้ว่า Topic ที่ดีนั้นจะต้องครอบคลุมเนื้อหาส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ดังนั้น ถ้าตั้ง Topic Idea ว่า The size of the sea หรือ The depth of the sea อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ผู้อ่านจึงต้องประมวลเนื้อหาทั้งหมด ก็คือ ต้องมีทั้งขนาด และความลึก สรุปก็คือเป็น "ข้อมูล หรือข้อเท็จจริง" เกี่ยวกับทะเล ผู้อ่านอาจให้ Topic Idea ว่า The facts about the sea หรือ The information about the sea หรืออาจจะใช้คำใดก็ได้ แต่ขอให้ความหมายครอบคลุมเนื้อหาเท่านั้นก็พอแล้ว

         3. Topic Sentence ตัวนี้แหละเป็นเรื่องยาวทีเดียว เอาเป็นว่าจะอธิบายพอสังเขปก่อน แล้วค่อยไปศึกษาหารายละเอียดทั้งหมดในเรื่อง Main Idea ก็แล้วกัน อันที่จริง Topic Sentence มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Main Idea นั่นเอง ชื่อของมันก็บอกแล้วว่า Topic Sentence ดังนั้น ลักษณะในการนำเสนอจะต้องเป็นประโยคเท่านั้น จะเป็นนามหรือนามวลีไม่ได้

                   สรุปง่าย ๆ ดังนี้
                         Topic Noun เป็น คำนาม
                         Topic Idea เป็น นามวลี
                         Topic Sentence เป็น ประโยค
อันที่จริง Topic Idea กับ Topic Sentence จะต้องเป็นแนวคิดเดียวกัน เพราะมันก็คือ เรื่องเดียวกันนั่นเอง ต่างกันแค่การนำเสนอ คือนามวลีกับประโยคเท่านั้นเอง ต่อไปนี้จะนำเสนอตัวอย่างเพื่อให้เห็นความชัดเจน
Example 5                
              Some insects destroy plants and trees. Some destroy stored grain, flour and meal. Some attack clothing and carpets. Others cause discomfort to animals by boring into their skin, biting or stinging. Some insects are real pests but many are helpful, too. Some eat harmful larvae. Others help with decay by eating rotting wood and plants.

              จากเรื่องข้างบน จะเห็นว่า Topic Noun คือ Insects และ Topic Idea คือ Insects - good and bad
     Topic Sentence อยู่ในประโยคที่ 4 ของเรื่อง นั่นก็คือ Some insects are real pests but many are helpful, too.
     ถ้าพิจารณาดี ๆ แล้ว ทั้ง Topic Idea และ Topic Sentence ก็ต้องการสื่อความหมายเดียวกัน เพียงแต่ Topic Idea เป็นนามวลี และ Topic Sentence เป็นประโยคเท่านั้นเอง
สรุป 
1. Topic Noun เป็นกลุ่มคำ หรือนามวลี (Noun Phrase)
2. Topic Sentence เป็นประโยค (Sentence)

http://202.143.135.242/web/pongsawat/unit01/topic1.html